สรุปขั้นตอนต่างๆ ภายในคัมภีร์ สารัมภ์ ตอนที่ 3

สรุปขั้นตอนโดยย่อในการหาคราสอาทิตย์(สุริยุปราคา)

1. ต้องมีค่าที่คำนวณเตรียมไว้แล้ว สำหรับใช้ในการคำนวณ ทั้ง 5 ค่า นั่นคือ รวิภุกดิ, รวิภุกดภุกดิ, จันทร์ภุกดิ,จันทร์ภุกดภุกดิ และ ภูจันทร์ พร้อมกับ ใช้ชุดค่า มัธยมและสมผุสที่ทำไว้ก่อนหน้า เอามาคำนวณประกอบกัน
2. หา เคราะห์หันตกุลา จาก สมผุสจันทร์ปฐม กับ สมผุสอาทิตย์ปฐม
3. หา อมาวสีสมผุสดี จาก เคราะห์หันตกุลา และ ภูจันทร์
หน่วยของค่าที่ได้ เรียกว่า มหานาที และมหาวินาที ตามลำดับ
4. หา สมรวิกุลา จากการคูณ อมาวสีฯ กับ รวิภุกดภุกดิ
5. หา สมจันทร์กุลา จากการคูณ อมาวสีฯ กับ จันทร์ภุกดภุกดิ
6. หา สมราหูกุลา จากการคูณ อมาวสีฯ ด้วย 3 แล้วหารด้วย 60
7. หา ตักกลารวิ จาก สมผุสอาทิตย์ปฐม กับ สมรวิกุลา
8. หา ตักกลาจันทร์ จาก ผลบวกของ สมผุสจันทร์ปฐม กับ สมจันทร์กุลา
9. ตรวจสอบ ค่าของ ตักกลารวิและ ตักกลาจันทร์ ถ้าเท่ากัน หรือต่างกันอยู่ 1 ยังยอมรับได้ว่า ถูก ให้ทำต่อไป แต่ถ้าไม่เท่ากันเลย คือ ทำผิด ต้องย้อนกลับไปคำนวณมาใหม่ (โดยส่วนใหญ่ จะเท่ากัน)
10. ถ้า ตักกลารวิ และ ตักกลาจันทร์ เท่ากัน ให้หา ตักกลาราหู จาก สมผุสราหูปฐม กับ สมราหูกุลา
11. หา ทินประมาณ ด้วย แผนผัง อันโตฌาณราศีวินาที และมิสสกะมหาวินาที ตามวิธีการขั้นตอนที่กล่าวไว้ ในตำรา
12. จาก ทินประมาณ นำไปหาร 2 ค่าที่ได้ เรียกว่า ทินาฒ
13. ตรวจสอบ อมาวสีสมผุสดี กับ ทินาฒ ดูว่า ค่าไหน น้อยกว่า แล้ว พิจารณาดังนี้
เมื่อ อมาวสี ลบ ทินาฒ ได้ ( ความหมายคือ ทินาฒ มากกว่า อมาวสี ) ทิศทางของคราส เป็น คต
เมื่อ ทินาฒ ลบ อมาวสี ได้ (ความหมายคือ ทินาฒ น้อยกว่า อมาวสี) ทิศทางของคราส เป็น เอษฐ(เอต)
14. นำผลจากการหักลบ ไปหาค่าจากตารางลัมพฉายา ตามขั้นตอนวิธีการที่ได้กล่าวไว้ ในตำรา
ผลที่ได้ เรียกว่า ลัมพกลา
15. จาก ลัมพกลา ให้คูณด้วย 60 หารด้วย 800 ได้เศษเท่าใด เอา 60 คูณ หารด้วย 800 อีกครั้งหนึ่ง
ค่าที่ได้ ทั้งสองผลลัพธ์ เรียกรวมกันว่า ลัมพกลามหานาที (ผลลัพธ์ครั้งแรก เป็น มหานาที ผลลัพธ์ที่สอง เป็น มหาวินาที)
16. จากทิศทางของคราสที่ต่างกัน ทำให้ค่าผลลัพธ์ที่ได้ต่อไปนี้ แตกต่างกัน จากการสลับเครื่องหมายการกระทำ ภายในสมการ ดังนี้
คตลัมพภิตตรวิ = ตักกลารวิ ลบด้วย ลัมพกลา / ลัมพภิตตโปรว = อมาวสีฯ ลบด้วย ลัมพกลามหานาที
เอษฐ์: ลัมพภิตตรวิ = ตักกลารวิ บวกกับ ลัมพกลา / ลัมพภิตตโปรว = อมาวสีฯ บวกกับ ลัมพกลามหานาที
17. จาก ลัมพกลามหานาที เอา 2 หาร ค่าที่ได้ เรียกว่า อัฑฒลัมพภิตตมหานาที
18. เช่นเดียวกับข้อ 16 ทิศทางของคราสที่ต่างกัน ค่าผลลัพธ์ที่ได้ต่อไปนี้ จะแตกต่างกัน จากการสลับเครื่องหมายของการกระทำในสมการ ดังนี้
คตลัมพวัฑฒโปรวิ = อมาวสีฯ ลบด้วย อัฑฒลัมพภิตตมหานาที
เอษฐ์: ลัมพวัฑฒโปรวิ = อมาวสีฯ บวกกับ อัฑฒลัมพภิตตมหานาที
19. หา ภุช จาก ลัมพภิตตรวิ กับ ตักกลาราหู
20. จาก ภุช หา ปฐมราหูวิกเขป พิจารณาทิศจาก โกลัง (วิธีการหาอยู่ในขั้นตอนการคำนวณตามตำราแล้ว)
21. หาค่า สุทธลัคน์ เพื่อนำไปใช้คำนวณ หา ทุติยราหูวิกเขป โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
21.1 จาก ลัมพภิตตรวิ หา ทุติยภาคกุลา จากนั้น หักลบกับ 1800 จะได้ มหาวินาทีอาทิตย์โคจรอยู่
21.2 หา มหาวินาทีอนาคตอาทิตย์โคจรอยู่ จากวิธีการที่กล่าวไว้ ในตำรา โดยใช้ผังอันโตฌาณราศีวินาทีมาประกอบการคำนวณ
21.3 ตั้ง ลัมพวัฑฒโปรว คูณด้วย 60 นำค่าจาก 21.1 กับ 21.2 มาร่วมประกอบในการคำนวณ ทำไปตามขั้นตอน ผลสุดท้าย ที่ได้ จะออกมาเป็น ค่า สุทธลัคน์ภุกดะ
22. จาก สุทธลัคน์ภุกดะ ให้คำนวณตามวิธีการที่กล่าวไว้ในตำรา อีกครั้ง ผลที่ได้ เป็น ภุชราศี
23. จาก ภุชราศี ให้พิจารณาดังนี้
เมื่อ ภุชราศี เป็น 0 เอา 18 คูณ กับ องศาและลิบดา
เมื่อ ภุชราศี เป็น 1 เปลี่ยน ภุชราศี เป็น 9แล้วเอา 14 คูณ กับ องศาและลิบดา
เมื่อ ภุชราศี เป็น 2 เปลี่ยน ภุชราศี เป็น 16แล้วเอา 6 คูณ กับ องศาและลิบดา
ต่อจากนั้น เอา 60 หาร ลิบดา (ตรวจสอบ ค่าของเศษ ถ้ามีค่าตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ให้ปัดทบค่าไปที่ ค่าองศา เป็น ค่าองศาบวกด้วย 1) ผลหาร บวกค่าองศา (กรณีที่มีการปัดทบ ค่าองศาจะถูกบวกเข้าไปอีก 1 ก่อนจะบวกผลหารลิบดาเข้าไปอีกครั้ง)
หลังจากนั้น เอา 60 หาร องศาลัพธ์(คือ ผลหารลิบดา+ค่าองศา) ซ้ำอีกครั้ง ผลหารบวกเข้ากับราศี ออกมาเป็น มหานาที ส่วนเศษจากการหาร เป็นมหาวินาที ค่าที่ได้นี้ เรียกว่า ทุติยราหูวิกเขป พิจารณาทิศจาก โกลัง (วิธีการหาอยู่ในขั้นตอนการคำนวณตามตำราแล้ว)
24. ตรวจสอบ ปฐมราหูวิกเขป กับ ทุติยะราหูวิกเขป โดยพิจารณาจาก โกลัง แล้ว จับบวกลบ กันตามขั้นตอนในการพิจารณา ผลลัพธ์ที่ได้ เรียกว่า ตติยะราหูวิกเขป พร้อมทิศทาง ที่บ่งชี้ ว่า เป็น อุดร หรือ ทักษิณ
25. กำหนดค่า เกณฑ์ ทววิกเขป เป็น ทักษิณ พร้อมแปลงค่า พิกัดของ กรุงเทพมหานคร
คือ 13 องศา 44 ลิบดา ให้เป็น 13 มหานาที 44 มหาวินาที ทักษิณ
จากนั้น ให้นำ ตติยราหูวิกเขป มาเทียบ พร้อมกับ บวกลบ ไปตามขั้นตอน ได้เท่าใด ผลลัพธ์ เรียกว่า สุทธิวิกเขป
26. หา รวิพิมพ์ จาก รวิภุกดภุกดิ กับ รวิภุกดิ (ค่านี้ คือ ขนาดปรากฎของดวงอาทิตย์)
27. หา จันทร์พิมพ์ จาก จันทร์ภุกดภุกดิ และ จันทร์ภุกดิ (ค่านี้ คือ ขนาดปรากฎของดวงจันทร์)
28. เอา รวิพิมพ์ บวก จันทร์พิมพ์ แล้ว หาร 2 ผลลัพธ์ เรียกว่า มานยกาษฐ์
29. เอา มานยกาษฐ์ กับ สุทธิวิกเขป เทียบกัน
ถ้า สุทธิวิกเขป มากกว่า ไม่มีคราส
สุทธิวิกเขป น้อยกว่า แปลว่า มีคราส
30. เอา มานยกาษฐ์ ตั้ง ลบด้วย สุทธวิกเขป (กรณีที่มีคราส) ผลต่าง เรียกว่า คราสสางคุลี
31. ตั้ง รวิพิมพ์ เอา คราสสางคุลี ไปหักลบ ผลต่าง คือ ค่า ราหูกินไม่สิ้น (ยังคงมีแสงอาทิตย์อยู่ ณ ขณะที่มีคราส นั่นเอง)
32. คำนวณหาเวลาทั้งหมด นับแต่เริ่มจับจนคลายออก ในกรณีของ คราสอาทิตย์ ดังนี้
ตั้งเกณฑ์ 32 ลบด้วย สุทธิวิกเขป ผลต่างที่ได้ นำไปหาค่าจากเกณฑ์ที่กำหนดให้ในตารางของคัมภีร์(หรือในตำรา)
ตามขั้นตอน ผลสุดท้าย ค่าที่ได้นี้ เรียกว่า สถิตย์คราส
33. จาก สถิตย์คราส นำไปหาร 2 จะได้ สถิตย์ยาตรา หรือ สถิตย์ยาตร
34. จากทิศทางของคราสที่ต่างกัน ทำให้ค่าผลลัพธ์ที่ได้ต่อไปนี้ แตกต่างกัน จากค่าที่ใช้คำนวณและการสลับเครื่องหมายของการกระทำ ภายในสมการ ดังนี้
คตมัธยมประเวสกาล = อมาวสีฯ -สถิตย์ยาตร / มัธยมโมกษกาล = อมาวสีฯ + สถิตย์ยาตร
เอษฐ์: มัธยมประเวสกาล = ลัมพวัฑฒโปรว -สถิตย์ยาตร / มัธยมโมกษกาล = ลัมพวัฑฒโปรว + สถิตย์ยาตร

หาเวลา ราหู แรกจับ
ตั้ง มัธยมประเวสกาล เอา ทินาฒ ลบ
ถ้า ทินาฒ ลบได้ เป็นเอษฐ์คราส ชื่อ สุทธประเวสกาล
ถ้า ทินาฒ ลบไม่ได้ เป็นคตคราส

หาเวลาราหูปล่อย(เวลาปล่อย)
ตั้ง มัธยมโมกษกาล เอา ทินาฒ ลบ
ถ้า ทินาฒ ลบได้ เป็นเอษฐ์คราส ชื่อ สุทธโมกษกาล
ถ้า ทินาฒ ลบไม่ได้ เป็นคตคราส

หาเวลากึ่งกลางคราส
ตั้ง เวลาแรกจับ เอา เวลาปล่อย ลบออก ได้เท่าใด ให้หารด้วย 2 แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ มาบวกเข้ากับเวลาแรกจับ อีกทีหนึ่ง เวลาที่ได้ จะเป็น เวลา กึ่งกลางคราส หรือ อัฒคราส


บทแทรก ที่สอง
วิธีการตัดเวลาสุริยุปราคา ตามแบบของหลวงพรหมโยธี
ทำได้ โดย เมื่อทราบ มัธยมประเวสกาลและ มัธยมโมกษกาลแล้ว ให้ใช้เกณฑ์ 144000 สตางค์ เข้าช่วย
โดย บวก 144000 สตางค์ เข้ากับ มัธยมประเวสกาล ลัพธ์ที่ได้ เป็นเวลาแรกจับ และ
บวก 144000 สตางค์ เข้ากับ มัธยมโมกษกาล ลัพธ์ที่ได้ เป็นเวลาปล่อย
ทั้งนี้ เริ่มนับตั้งแต่ ย่ำรุ่ง(6.00 โมงเช้า) เป็นต้นไป
โดย เกณฑ์ 144000 สตางค์นี้ ที่ 1 นาที มีค่าเท่ากับ 6000 สตางค์ ถ้าเอา 144000 หารด้วย 6000 ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 24 นาที เท่ากับ 1 มหานาที นั่นเอง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์