สรุปขั้นตอนต่างๆ ภายในคัมภีร์ สารัมภ์ ตอนที่ 2

สรุปขั้นตอนโดยย่อในการหาคราสจันทร์ (จันทรุปราคา)

1. ต้องมีค่าที่คำนวณเตรียมไว้แล้ว สำหรับใช้ในการคำนวณ ทั้ง 5 ค่า นั่นคือ รวิภุกดิ, รวิภุกดภุกดิ, จันทร์ภุกดิ,จันทร์ภุกดภุกดิ และ ภูจันทร์ พร้อมกับ ใช้ชุดค่า มัธยมและสมผุสที่ทำไว้ก่อนหน้า เอามาคำนวณประกอบกัน
2. หา ฉายาเคราะห์ จาก สมผุสอาทิตย์ปฐม
3. หา เคราะห์หันตกุลา จาก ผลต่างของ ฉายาเคราะห์ กับ สมผุสจันทร์ปฐม
4. หา ปุณมี จาก เคราะห์หันตกุลา และ ภูจันทร์ หน่วยของค่าที่ได้ เรียกว่า มหานาที และมหาวินาที ตามลำดับ
5. หา สมรวิกุลา จากการคูณ ปุณมี กับ รวิภุกดภุกดิ
6. หา สมจันทร์กุลา จากการคูณ ปุณมี กับ จันทร์ภุกดภุกดิ
7. หา สมราหูกุลา จากการคูณ ปุณมี ด้วย 3 แล้วหารด้วย 60
8. หา ตักกลารวิ จาก ผลบวกของ ฉายาเคราะห์ กับ สมรวิกุลา
9. หา ตักกลาจันทร์ จาก ผลบวกของ สมผุสจันทร์ปฐม กับ สมจันทร์กุลา
10. ตรวจสอบ ค่าของ ตักกลารวิ และ ตักกลาจันทร์ ถ้าเท่ากัน ให้ทำต่อไป แต่ถ้าไม่เท่ากัน คือ ทำผิด ต้องย้อนกลับไปคำนวณมาใหม่
11. ถ้า ตักกลารวิ และ ตักกลาจันทร์ เท่ากัน ให้หา ตักกลาราหู จาก สมผุสราหูปฐม กับ สมราหูกุลา
12. หา ราหูภุช จาก ตักกลาราหู และ ตักกลาจันทร์ ตรวจสอบว่า มีคราสหรือไม่ โดยการเอา 720 หารราหูภุช ถ้าหารได้ แปลว่า ไม่มีคราส
13. หา ราหูวิกขิป จาก ราหูภุช
14. หา จันทร์พิมพ์ จาก จันทร์ภุกดภุกดิ และ จันทร์ภุกดิ (ค่านี้ คือ ขนาดปรากฎของดวงจันทร์)
15. หา ราหูพิมพ์ จาก จันทร์พิมพ์ (ค่านี้ คือ ขนาดของเงาของโลก)
16. คำนวณหาเวลาทั้งหมด นับแต่เริ่มจับจนคลายออก ด้วยเกณฑ์ที่กำหนดให้และจากค่าในตารางของคัมภีร์(หรือในตำรา) ค่าที่ได้นี้ เรียกว่า มูลมหานาที
17. จาก มูลมหานาที นำไปหาร 2 จะได้ ติตถมหานาที
18. ตั้ง ปุณมี เอา ติตถมหานาที ลบออก จะได้ ปรัสถกลหมหานาที มัธยมประเวสกาล(เป็นค่าเดียวกัน ตัวหน้าเป็นชื่อของมหานาที ตัวหลังเป็นลักษณะของเวลา หมายถึงเวลาแรกจับ)
19. ตั้ง ปุณมี เอา ติตถมหานาที บวกเข้า จะได้ มุขกลหมหานาที มัธยมโมกษกาล (เช่นเดียวกับข้อ 18 เป็นค่าเดียวกัน หมายถึง เวลาราหูปล่อย)
20. หา ทินประมาณ ด้วย แผนผัง อันโตฌาณราศีวินาที ด้วยวิธีการขั้นตอนที่กล่าวไว้ ในตำรา
21. จาก ทินประมาณ นำไปหาร 2 ค่าที่ได้ เรียกว่า ทินาฒ
22. กำหนดให้ เกณฑ์ 1 วัน = 60 มหานาที เอา ทินประมาณ ไปลบออก จะได้ รัตติประมาณ ออกมา
23. เอา รัตติประมาณ หารด้วย 2 ค่าที่ได้ เรียกว่า นิสาฒ

หาเวลา ราหู แรกจับ

ตั้ง ปรัสถกลหมหานาที เอา ทินประมาณ ลบออก แล้ว ค่อย เอา นิสาฒ มา ลบ อีกทีหนึ่ง
ถ้า นิสาฒ ลบไม่ได้ เป็น เวลาแรกจับ ตอนหัวค่ำ ก่อน เที่ยงคืน
ถ้า นิสาฒ ลบได้ เป็น เวลาแรกจับ ตอนดึก ตั้งแต่ เที่ยงคืนเป็นต้นไป

หาเวลาราหูปล่อย(เวลาปล่อย)

ตั้ง มุขกลหมหานาที เอา ทินประมาณ ลบออก แล้ว ค่อย เอา นิสาฒ มา ลบ อีกทีหนึ่ง
ถ้า นิสาฒ ลบไม่ได้ เป็น เวลาปล่อย ตอนหัวค่ำ ก่อน เที่ยงคืน
ถ้า นิสาฒ ลบได้ เป็น เวลาปล่อย ตอนดึก ตั้งแต่ เที่ยงคืนเป็นต้นไป

หาเวลากึ่งกลางคราส

ตั้ง เวลาแรกจับ เอา เวลาปล่อย ลบ ได้เท่าใด ให้หารด้วย 2 แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ มาบวกเข้ากับเวลาแรกจับ อีกทีหนึ่ง เวลาที่ได้ จะเป็น เวลา กึ่งกลางคราส หรือ อัฒคราส

**********************************************************
บทแทรก

วิธีการแปลงมหานาที และ มหาวินาที ให้เป็นเวลา นาฬิกาธรรมดา
แปลงได้ จากสูตร 1 มหานาที = 24 นาที และ 1 มหาวินาที = 24 วินาที

แปลง เวลาแรกจับ หรือ เวลาปล่อย จาก มหานาที/มหาวินาที ให้เป็น เวลา นาฬิกาธรรมดา ทำดังนี้

เอา 24 คูณ ทั้งหน่วย มหานาที และ มหาวินาที จากนั้น
ณ ฐาน มหาวินาที ให้เอา 60 หาร ผลลัพธ์ไปบวกฐานมหานาที เศษที่เหลืออยู่ เป็น วินาที
ณ ฐานมหานาที จะได้ค่าที่บวกเข้ากับผลลัพธ์จากการหารในฐานมหาวินาที มาแล้ว ค่าหนึ่ง
ให้เอา 60 หารค่านี้
ผลลัพธ์ที่ได้ เป็น โมง(ชั่วโมง) เศษที่ได้ เป็น นาที


ข้อสังเกต

ถ้านิสาฒ ลบไม่ได้ น่าจะนับตั้งแต่ 18.00 นาฬิกา เป็นต้นไป
เมื่อนิสาฒ ลบได้ ให้นับตั้งแต่ 24.00 นาฬิกา เป็นต้นไป

(ในตำรา เขียนอธิบายไว้ ไม่ชัดเจน)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์