สรุปขั้นตอนต่างๆ ภายในคัมภีร์ สารัมภ์ ตอนที่ 1

สรุปขั้นตอนต่างๆ ภายในคัมภีร์ สารัมภ์
      เกริ่นนำ ในที่นี้ ขอสรุปขั้นตอนต่างๆ ที่ใช้ใน คัมภีร์ สารัมภ์ ไว้โดยย่อ ภายใต้ข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
    1.จะขอใช้ ตำรา(คัมภีร์)สารัมภ์ ของ อ.หลวงวิศาลดรุณกร เป็นหลัก คำเรียกค่าต่างๆ ที่มีอยู่ในการสรุปแต่ละขั้นตอน ถูกนำมาจาก คัมภีร์นี้ จะมีค่าอื่น จากคัมภีร์อื่นอยู่บ้าง เป็นส่วนประกอบ แต่ทั้งหมด จะมีการอธิบายในภายหลัง
    2.การสรุปย่อขั้นตอนเหล่านี้ เป็นการบอกถึงภาพรวม ว่า ภายในคัมภีร์นี้ มีลักษณะการคิดคำนวณกันอย่างไร ต้องใช้ค่าอะไรบ้าง แต่จะไม่ลงลึกในรายละเอียดของการหาค่าเหล่านั้น เพราะอยู่นอกเหนือขอบเขตในการแนะนำนี้
    3.คัมภีร์สารัมภ์นี้ ในบางครั้ง อาจใช้คำว่า ตำรา ขอให้เข้าใจว่า เป็นความหมายอย่างเดียวกัน
 เมื่อเข้าใจตรงกันแล้ว ก็มาเริ่มกันเลย

     สรุปเนื้อหาคัมภีร์สารัมภ์โดยย่อ 
    สรุปขั้นตอนเริ่มต้น ก่อนการคำนวณโดยย่อ
 1. หาวัน เดือน ปี ที่จะเกิดอุปราคา (ให้เลือกว่า จะทำ สุริยุปราคาหรือ จันทรุปราคา เพราะวิธีการที่ใช้สำหรับคำนวณ จะแตกต่างกัน) พร้อมกับระบุค่า องศา และ ราศีที่ อาทิตย์ สถิตย์อยู่ มาด้วย สำคัญมาก เพราะต้องใช้ประกอบการคำนวณในภายหลัง
2. แปลง วัน เดือน ปี จากข้อ 1 ให้อยู่ในรูปของค่าเริ่มต้น ที่ชื่อว่า ปุณทิน (หน่วยเป็น วัน) ค่านี้ สามารถหาได้ 2 วิธี คือ
   2.1 เปลี่ยนจุลศักราช เป็น มหาศักราชเสียก่อน แล้วทำตามขั้นตอน จนได้ ปุณทิน
   2.2 ใช้ค่า หรคุณอัตตา ณ วันที่เกิดอุปราคา เป็นตัวตั้ง ทำตามขั้นตอน จนได้เป็น ปุณทิน
  ทั้ง 2.1 และ 2.2 จะใช้วิธีใดก็ได้ แต่ถ้าใช้วิธีใด วิธีหนึ่งไปแล้ว ให้ลองตรวจคำตอบดูด้วยการทำซ้ำใน อีกวิธีหนึ่ง ค่าที่ได้จากทั้งสองวิธี ต้องตรงกัน
3. จากค่า ปุณทิน ให้หักลบไป 1 เรียกว่า อุณทิน จะใช้ค่าตัวนี้ เป็นจุดเริ่มตั้งต้น ในการคำนวณ เพื่อหาค่า 4 ค่าต่อไปนี้ นั่นคือ พลอาทิตย์พลจันทร์พลอุจจ์ และ พลราหู
4. จาก ค่า พลอาทิตย์,พลจันทร์,พลอุจจ์ และ พลราหู นำไปหาค่า มัธยมอาทิตย์มัธยมจันทร์มัธยมอุจจ์ และมัธยมราหู โดยทุกค่ามัธยมจะประกอบด้วย 2 ค่าคู่กัน คือ ค่ามัธยมปฐมและ มัธยมทุติยะ
5. จาก ค่ามัธยมที่ได้ นำไปหาค่า สมผุส ทีละชุด จะได้ค่า สมผุส เป็นคู่ๆ คือ เป็น สมผุสปฐมและสมผุส ทุติยะ เช่นกัน
จบการเตรียมค่าในเบื้องต้น ก่อนเตรียมการคำนวณคราส ในขั้นตอนต่อไป *********************************************************************************
ค่าที่จำเป็นต้องมีใช้ ก่อน เริ่มการคำนวณ คราส ทั้งอาทิตย์และจันทร์
 ให้หาค่าไว้อีก 4 ค่า จาก ชุดของค่ามัธยมและสมผุส ที่ได้ทำเอาไว้ก่อนหน้า ได้แก่
 รวิภุกดิ จาก มัธยมอาทิตย์ทุติยะและปฐม
 รวิภุกดภุกดิ จาก สมผุสอาทิตย์ทุติยะและปฐม
 จันทร์ภุกดิ จาก มัธยมจันทร์ทุติยะและปฐม
จันทร์ภุกดภุกดิ จาก สมผุสจันทร์ทุติยะและปฐม
จากนั้น หาอีก 1 ค่า เพิ่มเติม นั่นคือ ภูจันทร์ โดยหาจากผลต่างของ จันทร์ภุกดภุกดิ กับ รวิภุกดภุกดิ
รวมทั้ง 5 ค่านี้ ถือ เป็นค่าตั้งต้น เพื่อใช้ในการคำนวณคราส ต่อไป เช่นกัน **********************************************************************************
หมายเหตุ
ใน ตำราของ อ.หลวงวิศาลดรุณกร ใช้ค่าเริ่มต้น ที่เรียกว่า อุณทิน แล้วนำค่า อุณทิน ไปลบ 1 ซึ่งตลอดทั้งตำรา จะใช้ค่า อุณทิน-1 นี้ ในการคำนวณ
ขณะที่ อีกตำราหนึ่ง ซึ่งเป็นของ อ.หลวงพรหมโยธี เรียกค่าเริ่มต้นตัวนี้ ว่า ปุณทิน แล้วค่อยนำ ปุณทินไป ลบ 1 แล้ว ให้ชื่อใหม่ว่า อุณทิน โดยจะใช้ค่านี้ ตลอดทั้งตำรา
เพื่อความสะดวกในการอธิบาย จะใช้ค่าตัวแปรของ อ.หลวงพรหมโยธี โดยใช้คำว่า ปุณทิน แทน คำว่า อุณทิน ซึ่งเป็นค่าที่ได้จากการนับวัน ด้วยวิธีการในตำราสารัมภ์ของ อ.หลวงวิศาลดรุณกร  และ จะใช้ อุณทิน แทนค่า อุณทิน -1 และ จะใช้ค่านี้ ตลอด ในทุกการอธิบาย เช่นกัน
จริงๆแล้ว คำสองคำนี้(ปุณทิน กับ อุณทิน) คือ ค่าของตัวเลขชุดเดียวกัน เพียงแต่สองตำรา เรียกชื่อไม่เหมือนกัน
สำหรับใครที่ยังไม่เข้าใจ ขออธิบายด้วยสัญลักษณ์ เป็นดังนี้
ปุณทิน(.หลวงพรหมโยธี) = อุณทิน (.หลวงวิศาลดรุณกร)
อุณทิน(.หลวงพรหมโยธี) = อุณทิน-1 (.หลวงวิศาลดรุณกร)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์