ประกาศอุปราคา จันทรุปราคา 19 พฤศจิกายน 2564

 ประกาศอุปราคา จันทรุปราคา 19 พฤศจิกายน 2564

เป็นการประกาศเฉยๆ เพราะขั้นตอนใดๆในการเกิดของมันนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนที่มันยังไม่ขึ้นจากขอบฟ้าที่เมืองไทยครับ แต่ประเทศอื่นๆที่เข้าภาคกลางคืนไปก่อนหน้าเราก็คงจะเห็นมันอยู่

ผลการคำนวณอุปราคา จันทรุปราคา 19 พฤศจิกายน 2564

ช่วงเวลาบ่ายแก่ๆไปจนถึงก่อนอาทิตย์ตก

คำนวณโดยใช้คัมภีร์สารัมภ์ พ่วงกับเทคนิคปรับปรุงผลลัพธ์ที่มีรายละเอียดตามนี้

การหาเวลาแรกจับและคลายออก ใช้วิธีพิจารณาจากทินาทอันเป็นส่วนครึ่งหนึ่งของทินประมาณพร้อมหาเวลากึ่งกลางคราสด้วยวิธีเฉลี่ย

พบว่า วิธีนี้ ให้ค่าออกมาใกล้เคียงกับการคำนวณด้วยสูตรทางดาราศาสตร์ แม้จะไม่ใกล้กรายตัวเลขที่คำนวณได้จากทาง NASA เลยสักแอะ ก็ตาม

สรุปตัวเลข เวลาแรกจับ 14:20:12

              เวลาคลายออก 17:47:38

              กึ่งกลางคราสจับเฉลี่ย 16:03:55

สรุปข้อมูล Eclipse 19 November 2021 จากบรรดาข้อมูลทางดาราศาสตร์

ข้อมูลหลักจาก Nautical Almanac 2021 เป็นดังนี้

สรุปตัวเลข เวลาแรกจับ 07:22 UTC (14:22)

              เวลาคลายออก 10:41 UTC (17:41)

              กึ่งกลางคราส 09:01 UTC (16:01)

ส่วนข้อมูล Eclise จากแหล่งข้อมูลนี้ (เป็นข้อมูลที่มาจาก NASA)

https://eclipse.gsfc.nasa.gov/LEdecade/LEdecade2021.html

เป็นดังนี้

สรุปตัวเลข เวลาแรกจับ 07:18:41 UTC  (14:18:41)

              เวลาคลายออก 10:47:04 UTC (17:47:04)

              กึ่งกลางคราส 09:02:53 UTC (16:02:53)

 

ค่าคำนวณจากสูตรของ Jean Meeus J2000

Delta T=72 s

สรุปตัวเลข เวลาแรกจับ 07:20:15 UTC  (14:20:15)

              เวลาคลายออก 10:46:59 UTC (17:46:59)

              กึ่งกลางคราส 09:03:37 UTC (16:03:37)

คำนวณจากสูตรยุคหิน J1900 by Jean Meeus

Delta T =72 s

สรุปตัวเลข เวลาแรกจับ 07:20:36 UTC  (14:20:36)

              เวลาคลายออก 10:47:20 UTC (17:47:20)

              กึ่งกลางคราส 09:03:58 UTC (16:03:58)

 

หากพิจารณาเฉพาะข้อมูล จะพบว่า ข้อมูลที่มาจาก Nautical Almanac และ NASA เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ค่ากึ่งกลางคราสที่ได้มานั้น มีค่าที่น้อย แต่กลับพบว่า ค่าที่มาจากการคำนวณตามสูตรดาราศาสตร์เจ้าหนึ่ง จะมีค่าของกึ่งกลางคราสที่มากกว่ากันเล็กน้อย ราว 1 นาที รวมทั้งเมื่อคำนวณผ่านคัมภีร์สารัมภ์พร้อมเทคนิคปรับแก้และจับเฉลี่ยแล้ว ก็พบว่า ค่าของกึ่งกลางคราสที่ได้นั้น เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสูตรดังกล่าว

ดังนั้น ในรอบนี้ และอาจจะนับตั้งแต่นี้ จะไม่เปรียบเทียบความต่างของเวลา ว่า ช้าหรือเร็วกว่ากันอย่างไร ขอให้ทุกท่านลองพิจารณากันดูเอาเอง น่าจะดีกว่า

สำหรับเรื่องของหลักวิชานั้น ยังเป็นอะไรที่ต้องศึกษาค้นคว้ากันอยู่ต่อไป เพราะสูตรการคำนวณแต่ละแบบก็ให้คำตอบที่ออกมาไม่เหมือนกัน ทั้งๆที่เป็นวัตถุฟ้าเดียวกัน  ทั้งนี้ เนื่องมาจากบรรดาค่าแก้และการผูกสูตรต่างๆที่ไม่เหมือนกันครับ.

สำหรับอุปราคารอบนี้ คงจะไม่มีอะไรมาก เพราะคาดว่า เราน่าจะได้เห็นเป็น Full Moon แทน ไว้ว่ากันใหม่อีกที ในปีหน้า สำหรับปีนี้ คงจบแต่เพียงเท่านี้ครับ สวัสดี.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์