The Old Saram Correction Technic

 The Old Saram Correction Technic

การปรับปรุงผลลัพธ์การคำนวณในคัมภีร์สารัมภ์

ที่ผ่านมา ผู้เขียนเคยบอกกล่าวไว้แต่เพียงย่อๆว่า ถ้าเป็นการคำนวณจากคัมภีร์สารัมภ์ จะมีคำตอบอยู่ 2 แบบ กล่าวคือ คำตอบเพียวๆ ที่มาจากวิธีการตามคัมภีร์โดยตรง กับเทคนิคที่ใช้ในการปรับปรุงผลลัพธ์

ในตอนนี้ เราจะมาบอกเล่ากันถึงสิ่งนี้ แต่เทคนิคนี้ จะไม่นำออกมาใช้อีกแล้ว เพราะว่า จะลองหันกลับไปหาวิธีการแบบ Original ของมันดูบ้าง  เผื่อว่า จะได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ แต่ถ้ามันรีบด่วนมากๆ ก็จะมีเทคนิคแบบเร่งด่วนให้ใช้แก้ขัดกันไปก่อน ซึ่งจะมีบอกอยู่ในภายหลังเช่นกัน เอาล่ะ เรามาเริ่มกันเลย

ข้อสรุปของเทคนิคที่คาดว่าจะนำไปใช้สำหรับปรับปรุงค่าผลคำนวณจากคัมภีร์นั้น ตามที่เคยได้ใช้งานมามีลักษณะแรกเริ่มเป็นแบบนี้ คือ

ได้ทดลองใช้เกณฑ์ แบบนาฬิกา 24 ชั่วโมง ใช้วิธีการ ทดเวลาที่ 12 ชั่วโมง โดยเริ่มจากเวลา 6 โมงเช้า จบที่ 18 นาฬิกา โดยอิงจากพื้นฐานของตำราเดิมที่ว่า เราตัดเวลากันตอนย่ำรุ่ง คิดเวลากลางคืนกันตอนย่ำค่ำ อะไรขาดหรือเกินจากนี้ ก็ทดมันเข้าไป หรือหักมันออกมา ซึ่งแน่นอนว่า เป็นการทำงานแบบหวยออกแล้วค่อยคิดกัน เลยทำให้พักหลังๆเกิดการติดขัด เพราะต้องทดเวลาตรงโน้นมาใส่ตรงนี้ เจ้าเวลานี่มาจากตรงนั้น วุ่นวายกันไปหมด พร้อมแอบแถมข้อมูลทางดาราศาสตร์สากลมาเพิ่มอีกเล็กน้อยในเรื่องของสมการเวลา และเวลาย่ำรุ่งปัจจุบัน(Sunrise) โดยเน้นไปที่เรื่องของสมการเวลาหรือเที่ยงจริง ในระดับหนึ่ง

ผลของวิธีการทำงานในเวลานั้น เลยทำให้ข้อมูลต่างๆ ดูสับสนและวุ่นวายไปหมด ผู้เขียนจึงได้บอกว่า ตัวเลขต่างๆยังอยู่ในช่วง trial and error หรือลองผิดลองถูกอยู่ อย่าเพิ่งนำไปใช้อ้างอิงอะไรใดๆเลยทั้งสิ้น

หากต้องการจริงๆ ขอให้ใช้ค่าที่เป็นที่ยอมรับจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ไว้ก่อน เป็นดีที่สุด

**********************************************************************

ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นจากงานวิจัยและข้อคิดเห็นจากอินทรีใหญ่

ในเวลาต่อมา ได้รับมุมมองที่เปิดกว้างขึ้น จากการพิจารณาข้อมูลที่อินทรีใหญ่ได้ให้ข้อคิดเห็นไว้ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากพระราชหัตถเลขาของ ร.4 ในการวินิจฉัยว่า เวลาย่ำรุ่งของท่านนั้น ประกาศมาจากอะไร โดยอินทรีใหญ่ผู้เป็นราชบัณฑิตยสภาท่านหนึ่ง ได้ให้ความเห็นไว้ ทั้งในโลกออนไลน์และหนังสือพระจอมเกล้าพยากรณ์ฯ ว่า อาจเป็นวิธีการของนาฬิกาแดด เหมือนเป็นการบอกใบ้ไว้ เกี่ยวกับเรื่องของ สมมาตร 12 ชั่วโมง

แต่ในตอนนั้น ก็ยังคงสงสัย เกี่ยวกับเวลาอาทิตย์ขึ้นอยู่ดี ว่า ควรทำอะไรกับ 18 นาทีหรือไม่(ค่าแก้ longitude จากอุบลฯถึง กทม) คำตอบในช่วงนั้น จะมีทั้งใช้ 18 นาทีมาเข้าร่วม และใช้ค่าแบบดิบๆเพียวๆไปเลยก็มี

สักพักที่สงสัยก็เริ่มถึงบางอ้อ กล่าวคือ ถ้าเป็นสมัยก่อนที่ไม่มีเวลามาตรฐานนั้น ก็ให้ยึดเวลาตามจริงไป แต่ถ้ามีเวลามาตรฐานแล้ว เวลาจากท้องถิ่นก็ต้องบวกด้วยค่าแก้ longitude ต่อไปอยู่ดี เพื่อจับเข้าหาเวลามาตรฐาน
ทั้งนี้ เมื่อคำนวณสอบกลับ โดยนำผลที่มาจากสูตรที่คิดแต่ละติจูดอย่างเดียวมาทดกับค่าแก้
longitude ผลที่ได้ใกล้เคียงกับสูตรของดาราศาสตร์สากลที่คิดรวมหมดทั้ง ละติจูดและลองจิจูดแล้ว เป็นอันสรุปได้ว่า เวลาอาทิตย์ขึ้นจากแหล่งข้อมูลนั้น เป็นเวลา ณ ตรงนั้นเองนั่นแหละ สามารถใช้ได้เลย ไม่ต้องไปหักลบอะไรออกอีกแล้ว(ถึงตรงนี้ อาจดูงงๆไปบ้าง สำหรับผู้เขียนจนถึงตอนนี้ บางทีก็ยังคงงงๆอยู่เลย ค่อยๆคิดกันไป คิดง่ายๆก็คือ ถ้าหักไป มันก็ไม่ใช่ เวลา กทม สิ มันจะเป็นเวลาอุบลฯไป เพราะที่จริงพิกัดของอุบลฯ ก็อยู่ก่อน กทม อยู่แล้ว ) และจากการอ่านงานวิจัยของนักวิจัยชาวต่างประเทศท่านหนึ่งซ้ำเป็นรอบที่หมื่นหรือแสนครั้งแล้วก็ไม่รู้ ไปสะกิดเข้ากับประโยคหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า เราสามารถใช้ true sunrise ในการตัดเวลาก็ได้นะ นอกเหนือจากที่ใช้ mean sunrise คือตีว่า 6 นาฬิกาตรง เป็นตัวตัดเวลา

เลยทำการทดลองแบบ Learning By Doing ด้วยการใช้ค่าของ true sunrise ที่เป็นเวลามาตรฐานคำนวณไปเลย ผลที่ได้ก็มีความใกล้เคียงกับผลคำนวณที่มาจากแหล่งข้อมูลทางดาราศาสตร์สากลพอสมควร(ขาดหรือเกินไปบ้างไม่กี่นาที) เลยเลือกว่า จะใช้เป็นแบบนี้แหละ ดีแล้ว

สำหรับการคิดทดเวลาขาด-เกิน ใดๆนั้น ถือเป็นเทคนิคเฉพาะ ซึ่งไม่ควรนำไปใช้อ้างอิง เพราะไม่มีกฏเกณฑ์ใดๆมารองรับ เป็นแค่แนวคิดส่วนขยายที่อ่านออกมาจากเรื่องของสมมาตร 12 ชั่วโมงของนาฬิกาแดดเพียงเท่านั้น และผู้เขียนไม่คิดที่จะนำมาใช้เป็นหลักอีก เว้นเสียแต่ว่า การตัดเวลาด้วย sunrise ไม่ว่าจะ true sunrise หรือ mean sunrise นั้น จะพบเจอเข้ากับปัญหา

และอีกหลักหนึ่งที่จะใช้ประกอบในการคำนวณ นั่นก็คือ เกณฑ์ของนาฬิกา 24 ชั่วโมง และ นาฬิกาที่จะแบ่งตัดไปทีละ 6 ชั่วโมง(ขออภัยจำชื่อทางการของมันไม่ได้แล้ว) ซึ่งก็เป็นเวลาที่ชาวประชาทั่วไป เขารู้จักและนิยมเรียกขานกันอยู่แล้วเป็นปกติ ซึ่งเกณฑ์ของนาฬิกาสองประเภทนี้ เป็นตัวช่วยคิดคำนวณได้ดี ในยามที่พบเจอว่า มีเวลาแรกจับของอุปราคาเกิดขึ้น แต่เกิดเวลาใกล้รุ่ง(สำหรับสุริยุปราคา) หรือ เกิดแต่เวลาบ่ายจนถึงก่อนใกล้ย่ำค่ำ(สำหรับจันทรุปราคา) เพราะพวกนี้ จะอยู่ก่อนเส้นตัดเวลา อย่างในกรณีของจันทรุปราคาคือเกิดก่อนย่ำค่ำ ทำให้คิดไม่ออก หรือถ้าเป็นสุริยุปราคาที่เกิดก่อน 6 โมงเช้า แบบนี้ก็จะงง แต่ถ้าใช้ฐานคิด 24 ชั่วโมง มันจะวนไปได้ตลอดแล้วล่ะ ขึ้นอยู่ที่ว่า เราจะพลิกให้คำนวณกันในมุมและเหลี่ยมไหน ทั้งนี้ เราสามารถนำมาคิดประยุกต์ใช้กับเรื่องของ Full Moon ได้ด้วย

ตรงนี้ จะขอนำเสนอแนวทางไว้คร่าวๆก่อน ประมาณนี้ ส่วนตัวอย่างกรณีศึกษา ต้องขอเวลาสักหน่อย เพราะต้องใช้เวลาในการทำเช่นกัน

สำหรับตอนนี้ ไปก่อน สวัสดี.

 

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์