ปริศนา “สารัมภ์” ตอน กรณีศึกษาการหาค่าเริ่มต้น[ตอนที่ 2]
ปริศนา “สารัมภ์” ตอน กรณีศึกษาการหาค่าเริ่มต้น [ ตอนที่ 2] จาก ตอนที่แล้ว ได้อธิบาย ยกตัวอย่าง กรณีศึกษา การหาค่าอุณทิน ไปสองตัวอย่าง แต่ที่ยกมานั้น เป็นอุปราคาที่เกิดตอนต้นปี ยังไม่ถึงวันเถลิงศก ทั้งสองตัวอย่าง ในตอนนี้ เราจะมาว่ากันต่ออีกสักสองตัวอย่าง ที่เป็นกรณีเกิดอุปราคาหลังจากวันเถลิงศกไปแล้ว ว่า ทำอย่างไร ตัวอย่างที่สาม ตัวอย่างนี้ เกิด จันทรุปราคา เดือน ตุลาคม 2557 ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2557 ฉะนั้น ใช้ค่า จุลศักราช ของปี 2557 ได้เลย นั่นคือ 1376 เพราะเกิด ขึ้น หลังวันเถลิงศกไปแล้ว สำหรับ องศา อาทิตย์โคจรนี้ จะอยู่ที่ ราศี กันย์ ( ราศี 5 ) 2 0 องศา 41 ลิปดา คำนวณอุณทินตามมหาศักราช แปลงเป็นทรุพ ( ก ) จุลศักราช 1376+ 560 = 1936 เป็นมหาศักราช 1936 – 1065 = 871 เป็นทรุพ คำนวณหาผลบวกฐานวันของทรุพ กระจาย คูณค่า ไปตามฐาน วัน / มหานาที / มหาวินาที ( เพ็ชนาที )/ พลอักษร 871 คูณ 365 = 317915 เป็น วัน 871 คูณ 15 = 13065 เป็น มหานาฑี 871 คูณ 31 = 27001 เป็น มหาวินาที / เพ็ชนาฑี 87 1 คูณ 30 = 261 3 0 เป็น พลอักษร ในตัวอย่างนี้ เราจะพบกับอีกหนึ่งปัญหา ก็คือ ป...