ปริศนา “สารัมภ์” ตอน เตรียมการหาค่าเริ่มต้น[ตอนที่ 1]

ปริศนา “สารัมภ์” ตอน เตรียมการหาค่าเริ่มต้น[ตอนที่ 1]

        ากตอนที่แล้ว ปริศนา “สารัมภ์” ตอน เริ่มต้น กับ บรรทัดที่หายไป ได้ยกเอาวิธีการหาค่า    ปุณทิน(ของ อ.หลวงพรหมโยธี)หรือค่าอุณทิน(ของ อ.หลวงวิศาลดรุณกร) มาแสดงให้ดูกันไปแล้ว ทั้งสองวิธี แต่ทั้งหมด เป็นภาษาบรรยาย ที่อ่านแล้วอาจงุนงงได้ เพราะดูเป็นภาษาแบบโบราณไปสักนิด (ของ อ.หลวงพรหมโยธี ดูจะเป็นแนววิทยาศาสตร์ กว่า นิดหน่อย แต่ก็ เป็น ภาษาสมัยเก่า เหมือนกัน) เลยคิดว่า ขอนำมาเรียบเรียงให้เป็นแบบภาษา ณ ปัจจุบัน ดีกว่า
     มีบางอย่างที่ต้องบอกก่อน
ขอกลับมาใช้ชื่อของค่าตัวแปร เป็น อุณทิน ตามตำราเดิม(ของ อ.หลวงวิศาลดรุณกร)ก่อนนะครับ จริงๆแล้ว ที่ปรับไปใช้ เป็น คำว่า ปุณทิน กับ อุณทิน ก็ เพื่อความสะดวก สำหรับ ใคร ที่ต้องการจะนำวิธีการจากในเวบ ไปลองทำโปรแกรมกันดู(เผื่อใครจะสนใจนะ ^^' ) และ เพื่อความสะดวก สำหรับการอธิบายของตัวเองด้วย (ใครจะใช้คำว่า อุณทิน -1 ไปตลอดล่ะ ดูจะเข้าใจยากไปสักนิด) เคยอธิบายเอาไว้แล้ว ว่า ทั้งสองชื่อนี้น่ะ เป็นค่าเดียวกัน แต่ มาจากตำราคนละเล่ม เลยใช้ชื่อไม่เหมือนกัน ก็แค่นั้น
แต่ถ้ายังงงอยู่ ก็ตามนี้
อธิบายเป็นสัญลักษณ์ แบบนี้ก็แล้วกัน
ปุณทิน(.หลวงพรหมโยธี) = อุณทิน (.หลวงวิศาลดรุณกร)
อุณทิน(.หลวงพรหมโยธี) = อุณทิน-1 (.หลวงวิศาลดรุณกร)
จบ.
      ซึ่งทั้งสองวิธีการที่ว่ามาก่อนหน้านี้ เมื่อคำนวณหามาแล้ว คำตอบควรจะเท่ากัน
แม้ในตำราไม่ได้บอกไว้ตรงๆ ว่า เท่ากัน แต่โดยทั่วไป ตามความคิดของพวกเรา เมื่อให้วิธีการหามาตั้งสองวิธี แล้วคำนวณอะไรต่อมิอะไรกับค่าที่มาจากแหล่งเดียวกัน แถมระบุค่าที่ปลายทางเอาไว้เป็นอย่างเดียวกัน ถ้าไม่ได้คิดไปเป็นอย่างอื่น ยังไงๆค่าที่ได้ก็ควรจะออกมาเท่ากันครับ (นี่ ตามสามัญสำนึกเลยนะ)
     ที่สำคัญ ตัวอย่างตามตำรานี้ ท่านก็แสดงไว้ทั้งสองวิธีการ สำหรับการหาค่า อุณทิน นั่นแปลว่า สามารถที่จะนำมาตรวจทานกลับ ได้ว่า ถ้าเอาอีกวิธีหนึ่งมาคำนวณเปรียบเทียบแล้ว มันควรจะ เท่ากันจริงๆ หรือเปล่า
   
อย่างไรก็ตาม เราพบว่า การใช้วิธีของ จุลศักราช ในการหาค่าอุณทิน ไปเลย นั้น เป็นวิธีการที่ไม่มีปัญหาอะไรและไม่ผิดพลาดครับ
สำหรับวิธีการคิด ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรนัก
    ให้ เอา หรคุณอัตตา วันเกิดอุปราคา มาลบจาก 184298 เท่านั้นเอง ได้เป็น อุณทิน แล้ว!!!
เขียนในรูปแบบ ประโยคสัญลักษณ์ คณิตศาสตร์ ปัจจุบัน ไดัดังนี้
อุณทิน = หรคุณอัตตา ณ วันเกิดอุปราคา – 184298

มีข้อแม้อยู่ว่า ถ้าวันเกิดอุปราคา อยู่ก่อน วันเถลิงศกใหม่ การคิดหรคุณอัตตา ณ วันเกิดอุปราคา ต้องใช้ค่าจากหรคุณอัตตาเถลิงศกของปีเก่า มาบวกเข้ากับ สุทินประสงค์ที่นับมาจนถึงวันที่เกิดอุปราคา เพื่อใช้เป็น หรคุณอัตตา ณ วันเกิดอุปราคาแทน
แต่ ถ้าเกิดอุปราคา หลังวันเถลิงศกใหม่ไปแล้ว ก็ใช้ หรคุณอัตตาเถลิงศกใหม่นั่นแหละ บวกกับ สุทินที่นับต่อจากวันเถลิงศกใหม่ไปหาวันที่เกิดอุปราคา เป็นหรคุณอัตตา ณ วันเกิดอุปราคา มาคำนวณได้เลย
หมายเหตุ
คำว่า หรคุณอัตตาเถลิงศก และ สุทิน(สุทินประสงค์) เป็นค่าที่เชื่อมโยงมาจาก การคำนวณในคัมภีร์สุริยยาตร์ รวมถึง ค่าองศาอาทิตย์โคจร ณ ราศีนั้นๆ ด้วย ซึ่งคิดว่าควรใช้ค่าที่มาจากปฏิทินโหราศาสตร์ที่คำนวณจากคัมภีร์สุริยยาตร์ เช่นกัน
เหตุผล ก็คือ แม้ในปัจจุบันนี้ จะมีปฏิทินใช้กันอยู่สองแบบสำหรับโหราศาสตร์ไทย ก็คือ แบบของอ.เทพย์ สาริกบุตร ที่คำนวณแบบดาราศาสตร์ตัดค่าอายนางศะ กับ แบบของ อ.ทองเจือ อ่างแก้ว ที่คำนวณในแบบคัมภีร์สุริยยาตร์ แต่ถ้าต้องการนำเอาค่าองศาอาทิตย์ไปใช้ในคัมภีร์สารัมภ์จริงๆ คิดว่า ควรอ้างอิงจาก ปฏิทินที่ใช้คัมภีร์สุริยยาตร์มากกว่าครับเพราะว่ามีหลายค่าที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ โดยส่วนตัวผมเองก็ไม่เคยลองใช้ ปฏิทินของ อ.เทพย์ ท่านมาคำนวณเหมือนกันนะ -__-'
หน้ากระดาษหมดซะแล้ว ไว้มาต่อกัน คราวหน้าครับ เรื่องนี้ มีต่อ ยังไม่จบ.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์