ปริศนา “สารัมภ์” ตอน กรณีศึกษาการหาค่าเริ่มต้น[ตอนที่ 1]

ปริศนา “สารัมภ์” ตอน กรณีศึกษาการหาค่าเริ่มต้น[ตอนที่ 1]

จากตอนที่แล้ว หลังจากได้อธิบาย หลักในการหาค่า อุณทิน(ปุณทิน) จากวิธีการทั้งสองแบบ เอาไว้ยาวเหยียด
ทีนี้ เราจะเริ่มเอาทั้งหมดที่กล่าวไว้ในตอนก่อนๆ มาใช้งานกัน
เริ่มต้นที่ไหนกันก่อนดี
เริ่มครั้งที่เกิดขึ้นล่าสุดนี้เลย ก็แล้วกัน
วันที่เกิด สุริยุปราคา
9 มีค. 2559 เรามาหาค่าอุณทิน(ปุณทิน) กัน
ในวันนี้ จะใช้ ค่าจุลศักราชเป็น 1377(ปี 2558) ไม่ใช่ 1378(ปี 2559) เหตุผล เพราะว่า อุปราคานี้ เกิดก่อนวันเถลิงศกครับ ทำให้ต้องคิดคำนวณถอยหลังย้อนกลับไป 1 ปี
สำหรับ องศา อาทิตย์โคจรนี้ จะอยู่ที่ ราศีกุมภ์ (ราศี 10) 25 องศา 27 ลิปดา
การคำนวณ ณ จุดนี้ ขอเขียนบรรยาย อ้างอิง ตามแบบตำราของ อ.หลวงวิศาลดรุณกร นะครับ
(พบว่า ตามตัวอย่างที่ขอลอกวิธีการมานั้น อาจารย์ท่านได้วางวิธีการคิดอุณทิน ทั้งสองแบบไว้ในตัวอย่างเดียวกัน น่าจะเป็นเหตุผลตามที่สันนิษฐานเอาไว้ นั่นคือ เพื่อตรวจทานความถูกต้องของตัวเลขก่อน นั่นเอง เพราะค่าตัวนี้จะเป็นค่าเริ่มตั้งต้น ในการคำนวณอุปราคา ทั้งระบบ ครับ สำคัญมากๆ ทีเดียว )

คำนวณอุณทินตามมหาศักราช
แปลงเป็นทรุพ
() จุลศักราช 1377 + 560 = 1937 เป็นมหาศักราช
1937 – 1065 = 872 เป็นทรุพ
คำนวณหาผลบวกฐานวันของทรุพ
กระจาย คูณค่า ไปตามฐาน วัน / มหานาที / มหาวินาที(เพ็ชนาที)/ พลอักษร
872 คูณ 365 = 318280 เป็นวัน
872 คูณ 15 = 13080 เป็นมหานาฑี
872 คูณ 31 = 27032 เป็น มหาวินาที /เพ็ชนาฑี
872 คูณ 30 = 26160 เป็นพลอักษร

26160 หาร 60 = 436 เศษ 0 ฐานพลอักษร
27032 + 436 = 27468 หาร 60 = 457 เศษ 48 ฐานมหาวินาที / เพ็ชนาที
13080 + 457 = 13537 หาร 60 = 225 เศษ 37 ฐานมหานาที
318280 + 225 = 318505 ผลบวกฐานวัน(ของทรุพ)

318505 + 157 = 318662

318662 + 305 คตมาสราศีกุมภ์ = 318967
318967 + 25 องศา = 318992
เพราะฉะนั้น 318992 เป็นอุณทิน
-------------------------------
คำนวณด้วย หรคุณอัตตา ณ วันเกิดอุปราคา
(1) (หรคุณอัตตาเถลิงศก + สุทิน) ลบ 184298เป็นอุณทิน หรคุณอัตตาเถลิงศก ปี 2558 = 502592
(502962 + 328 )– 184298 = 318992 เป็นอุณทิน
พบว่า ค่าที่ได้ทั้ง ข้อ ก และ ข้อ 1 มีค่าเดียวกัน ถูกต้อง ตรงกัน
-------------------------------
ตัวอย่างที่สอง
จันทรุปราคา วันที่ 4 เมษายน 2558 อันนี้ ผมทันเห็นมัน ด้วย นิดหน่อย ดวงจันทร์สีออกมาแดงๆ (ก่อนหน้านี้ เคยเห็น เต็มๆตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนเข้าจับ จนถึง จับแล้ว เพียงแต่ไม่ได้ตามดู เวลาคายออก ซึ่งก็จำไม่ได้แล้ว ว่าปีไหน รู้แต่ว่า เข้าจับกันช่วง 2-3 ทุ่ม นี่แหละ คงต้องไปค้นดูกันอีกที)
ในวันนี้ จะใช้ ค่าจุลศักราชเป็น 1376(ปี 2557) ไม่ใช่ 1377(ปี 2558) เหตุผล เพราะว่า อุปราคานี้ เกิดก่อนวันเถลิงศกครับ ทำให้ต้องคิดคำนวณถอยหลังย้อนกลับไป 1 ปี
สำหรับ องศา อาทิตย์โคจรนี้ จะอยู่ที่ ราศีมีน (ราศี 11) 20 องศา 34 ลิปดา
คำนวณอุณทินตามมหาศักราช
แปลงเป็นทรุพ
() จุลศักราช 1376 + 560 = 1936 เป็นมหาศักราช
1936 – 1065 = 871 เป็นทรุพ
คำนวณหาผลบวกฐานวันของทรุพ
กระจาย คูณค่า ไปตามฐาน วัน / มหานาที / มหาวินาที(เพ็ชนาที)/ พลอักษร
871 คูณ 365 = 317915 เป็นวัน
871 คูณ 15 = 13065 เป็นมหานาฑี
871 คูณ 31 = 27001 เป็น มหาวินาที /เพ็ชนาฑี
871 คูณ 30 = 26130 เป็นพลอักษร

26130 หาร 60 = 435 เศษ 30 ฐานพลอักษร
***
จุดนี้เองแหละครับ ที่ทำให้ค่อนข้างสงสัย เพราะเศษมันคือ ครึ่งหนึ่งพอดี น่าแปลก ที่ปัดทบหรือไม่ปัด ไม่มีผลแตกต่างกันนัก คือห่างกันแค่ 1 ค่าตัวเลขที่คำนวณได้แตกต่างกันเล็กน้อย แต่ไม่ส่งผลกระทบถึงการคำนวณ ณ ขั้นตอนถัดไปเลย แม้แต่น้อย!!! ทำให้ยัง คง งง กันต่อไป *** ในที่นี้ เลือกใช้แบบปัดทบ
27001 + 436 = 27437 หาร 60 = 457 เศษ 17 ฐานมหาวินาที / เพ็ชนาที
13065 + 457 = 13522 หาร 60 = 225 เศษ 22 ฐานมหานาที
317915 + 225 = 318140 ผลบวกฐานวัน(ของทรุพ)

318140 + 157 = 318297

318297 + 335 คตมาสราศีมีน = 318632
318632 + 20 องศา = 318652
เพราะฉะนั้น 318652 เป็นอุณทิน
-------------------------------
คำนวณด้วย หรคุณอัตตา ณ วันเกิดอุปราคา
(1) (หรคุณอัตตาเถลิงศก + สุทิน) ลบ 184298เป็นอุณทิน ใช้หรคุณอัตตาเถลิงศก ปี 2557=502597
(502597 + 353 )– 184298 = 318652 เป็นอุณทิน
พบว่า ค่าที่ได้ทั้ง ข้อ ก และ ข้อ 1 มีค่าเดียวกัน ถูกต้อง ตรงกัน
-------------------------------
ทั้งสองตัวอย่างนี้ จะเห็นว่า เกิดอุปราคาก่อน วันเถลิงศก ก็คือ ช่วงต้นปี ตามแบบสากล นั่นแหละ
ลองๆเอาไปศึกษาดูก่อน ก็แล้วกันครับ
ในตอนหน้า จะเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างต่อไป ในกรณีที่เกิดอุปราคาหลังวันเถลิงศกไปแล้ว อีกสักสองตัวอย่าง พบกันตอนหน้าครับ .

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์