นานาสิทธานตะ-เริ่มต้น กับ อหรคุณ[ตอนที่ 5]-[สุริยสิทธานตะ]

นานาสิทธานตะ-เริ่มต้น กับ อหรคุณ[ตอนที่ 5]-[สุริยสิทธานตะ]
สำหรับวิธีการหาอหรคุณ ที่กำหนดจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่ตอนเริ่มต้นกลียุคศักราช(kali ahargana)นั้น มีขั้นตอนแบบเดียวกันกับการหาอหรคุณ ที่กำหนดนับเริ่มต้นตั้งแต่สร้างโลก แต่ผลลัพธ์ที่ได้จะมีขนาดย่อมกว่า เพราะเวลาที่เริ่มต้นนับ อยู่ในช่วง 4960 ปี ของยุคเหล็ก ที่เราอยู่กัน ณ ปัจจุบันนี้เอง
วิธีการหา อหรคุณ กลียุค โดยสรุป
(เรียบเรียงและดัดแปลงจาก
, บทความวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหา อหรคุณ ของอินเดียโบราณ อาทิเช่น LUNI-SOLAR CALENDAR, KALI AHARGANA AND JULIAN DAYS เป็นต้น )
เป็นดังนี้
1. หา เดือนสุริยคติ Solar Months จากสูตร
ms = 12x(3179 + y) + m
เมื่อ ms = เดือนสุริยคติ Solar Months
y = ปีมหาศักราชที่คำนวณ
m = จำนวนเดือนในปีมหาศักราชที่เราจะคำนวณ โดยนับถัดไปจากเดือนที่ 1 (ไม่นับเดือนที่ 1)
2. หา วันสุริยคติ จากสูตร
ds = 30ms + d
ds= จำนวนวันสุริยคติ
d= จำนวนวันที่ล่วงไปแล้วก่อนจะถึงวันที่คำนวณ(ไม่นับรวมวันที่คำนวณ นั่นเอง) โดยนับตามแบบปฏิทินจันทรคติ เริ่มที่ ขึ้น 1 ค่ำ เป็นต้นไป(อธิบายในแบบของไทย เพื่อความเข้าใจที่ง่าย จริงๆแล้ว เป็นการนับด้วย ดิถี)
3. หา จำนวนเดือนอธิกมาส mi จากสูตรนี้
mi = ms x (MI / MS )
ms = เดือนสุริยคติที่คำนวณได้ ในข้อ 1
MI = จำนวนเดือนอธิกมาสมหายุค
MS = จำนวนเดือนสุริยคติมหายุค
4. หาจำนวน วันจันทรคติ จาก
dL = 30(ms + mi) + d
โดยใช้ ค่า ms , mi , d ที่ได้มาจากข้อ 2 , 3
5. หา จำนวนของ omitted lunar day จาก
do = dL x (Do / DL) โดย Do= Omitted Lunar Day มหายุค , DL= จำนวนวันจันทรคติ มหายุค
6. อหรคุณ(Ahargana) ที่ได้ คำนวณได้จาก dL- do จะได้ค่า อหรคุณ กลียุคศักราช ตามต้องการ.

(Edit: แก้ไข 10/11/2562 จากการตรวจสอบแก้ไขสูตรที่ทำมาย้อนหลัง พบว่า เราไม่นับแค่เดือนที่ 1 ส่วนเลขปีให้ใส่ตัวเลขไปตามปกติ โดยให้เอา ปี ค.ศ.-78 แล้วนำผลมาใช้ได้เลย)

ความคิดเห็น

  1. เมื่อไหร่จะอัพตอนใหม่คร๊าบบบบ ผมชอบที่พี่เขียนมากเลย เข้าใจง่าย ตอนนี้ผมกำลังคำนวณสุริยุปราคาอยู่เลย555 อยากให้พี่ลงไปเรื่อยๆนะครับ ผมจะติดตามอ่าน555

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์