ปริศนาสารัมภ์ ตอน Full Moon ณ วันลอยกระทง


ปริศนาสารัมภ์ ตอน Full Moon ณ วันลอยกระทง
 
พอดี ช่วงนี้ ยุ่งอยู่กับชุดสูตรคำนวณในอีกคัมภีร์หนึ่ง และทำไปจนพบกำแพงแบบเดียวกับที่ผู้รู้ในอดีตน่าจะเคยรู้ เคยเจอและเคยเห็นมันมาก่อนหน้า  ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน
กำแพงที่ว่านั้น คือ เรื่องราวของการเช็ค พระจันทร์ ให้ใกล้เคียงกับท้องฟ้าจริงๆ นั่นเอง ที่เห็นกันชัดๆก็ได้แก่ การหา Full Moon ซึ่งเรื่องนี้ขอติดไว้ก่อน คงต้องศึกษากันอีกยาว
เนื่องจาก อยากลองดูว่า สูตรคำนวณอีกคัมภีร์หนึ่งนั้น จะหา Full Moon กันได้อย่างไร แต่จนแล้วจนรอดก็ยังหาทางไปต่อไม่ได้เลย
ท่ามกลางความมึนงง ยังนับว่า โชคดี ไปเจอ เอกสารสำคัญชิ้นหนึ่งเข้าโดยบังเอิญ
จากหน้าหนึ่งแห่งบทความ บันทึกความเห็นเรื่องปฏิทินปักขคณนา 2511 มีท่านผู้หนึ่งใช้วิธีการคำนวณตามแบบคัมภีร์สารัมภ์ตรวจสอบหาเวลาพระจันทร์เพ็ญ(Full Moon)พร้อมแสดงแบบวิธีทำเอาไว้
ผู้เขียนที่พอจะมีความรู้อยู่บ้าง เลยลองคำนวณๆไปสำหรับ Full Moon  และน่าตกใจที่พบว่า มันถูก!!!!
สำหรับ หนูทดลองสูตรตัวนั้น ได้แก่ วันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันลอยกระทงของเดือน พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา

เนื่องจากการสังเกตการณ์ด้วยภาพถ่าย มันบอกค่อนข้างจะชัดอยู่แล้วว่า ในวันที่ 11 พ.ย. 62 นั้น พระจันทร์ ดูแล้ว มันก็ไม่ค่อยจะกลมสักเท่าไหร่ แต่จากข้อมูลดาราศาสตร์ทั้งในและนอกประเทศบอกตรงกันว่า Full Moon เกิดพรุ่งนี้(12 พ.ย. 62) เวลา 20:34-20:35 น. เป็นต้นไป
พอถึงจังหวะเวลา ก็ทำการบันทึกภาพเก็บไว้ตามเวลานั้น แล้วก็ผ่านไป
สำหรับเรื่องของพระจันทร์ ที่มันเพี้ยนๆนั้น พอไล่จากปฏิทินดู จึงพบว่า มันเป็นยังงี้มาตั้งนานแล้วล่ะ โยม!!!!
เอาล่ะ
บอกผลการทดลองคำนวณเลยก็แล้วกัน เดี๋ยวจะยาว
ผลการคำนวณ หา Full Moon วันที่ 12 พ.ย. 2562 ด้วยคัมภีร์สารัมภ์
ใช้หรคุณประสงค์ 504633 คำนวณได้ดังนี้
ณ วันที่ 12 พ.ย. 2562
สมผุสอาทิตย์ (ราศี:องศา:ลิปดา)    6:24:55
สมผุสจันทร์   (ราศี:องศา:ลิปดา)    0:17:53
ใช้สูตรหา ปุณมี ตามคัมภีร์ สารัมภ์ ทำฉายาเคราะห์อะไรเสร็จสรรพ
ผลลัพธ์ที่ได้คือ 36 มหานาที 25 มหาวินาที
คิดเป็น ชั่วโมง นาที วินาที แล้ว ได้  14 ชั่วโมง 34 นาที 0 วินาที
เมื่อนับจากจุดอ้างอิงคือ 6 โมงเช้า แล้ว จะได้ผลลัพธ์แบบนาฬิกาปัจจุบัน เป็น 20:34:00 น.
เป็นไง ตรง ดีไหม -____-‘
ปล 2-3 วัน ก่อนหน้านี้ ทั้งมึน ทั้งป่วย ป้อนเลขหรคุณกันผิดๆถูกๆ ต้องตั้งสติกันนิดหน่อย เพราะอีกคัมภีร์หนึ่งตั้งจุดคำนวณไว้ที่เที่ยงคืน(นี่ก็ตัวดี ตกลง มันเที่ยงคืนของวันไหน เที่ยงคืนต้นวัน ตัวหนึ่ง เที่ยงคืนสุดวันก็อีกตัวหนึ่ง -___-‘ มึนมากมาย) ส่วนอีกคัมภีร์หนึ่ง ตั้งจุดคำนวณกันที่ หกโมงเช้า (นี่ดูง่ายหน่อย เช้าไม่กลัว กลัวจะไม่เช้า!!! ^__^)
ปล 2 จากการที่ป้อนเลขหรคุณผิด ทำให้เสียเวลาแทบจะทั้งบ่ายยันค่ำ ทำไม ผลมันไม่ได้สักที!!! แต่พอเหลือบขึ้นไปดูช่องกรอกข้อมูลรับเข้า โธ่!!!! ไม่น่าเลย!!! เป็นข้อมูลเก่านี่เอง พอเปลี่ยนเลขเป็นข้อมูลใหม่ที่ว่ามา ปรากฏว่า ผ่านฉลุย  -_____-‘
ปล3 สำหรับตัวเลขจากอีกคัมภีร์หนึ่ง มีทริคบังคับให้ตรงกับฟ้าอยู่ แต่รู้สึกว่า จะยังมีเงื่อนไขอะไรอีกบางประการที่ต้องเช็ค ขอดูให้แน่ใจอีกที ตอนนี้ ก็ใช้แบบนี้ไปก่อน สะดวกแบบนี้ -__________-‘
 *****************************************************************************************
ภาพพระจันทร์
วันที่ 11 พ.ย. 2562





ภาพพระจันทร์ วันที่ 12 พ.ย. 2562
 




ที่มาของสูตรการคำนวณ ได้แนวทางข้อมูลมาจากที่นี่
 
 




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์