ประกาศอุปราคา วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563


ประกาศอุปราคา วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020)
อุปราคา ในวัน ครีษมายัน  กลางวันยาว กลางคืนสั้น
ข้อมูลด้านดาราศาสตร์
แนวคราสจริงเป็นอุปราคาแบบวงแหวน
ในประเทศไทย เห็นเป็น สุริยุปราคาแบบบางส่วน
เห็นบดบังมากที่สุดทางตอนเหนือ ของประเทศ
ผลการคำนวณสำหรับเวลาการเกิดอุปราคา ณ กรุงเทพมหานคร
โดย ข้อมูลที่คำนวณจากคัมภีร์สารัมภ์ พร้อมค่าปรับแก้ ได้ผลลัพธ์เป็นดังนี้
ช่วงเวลา        คำนวณสารัมภ์     ดาราศาสตร์      ผลต่าง  ลักษณะ
แรกจับ            13:10:17                 13:10:48 0:00:31 เร็วกว่า
คลายออก          16:10:11               16:09:46 0:00:25 ช้ากว่า
กึ่งกลางคราส     14:48:45                14:48:38 0:00:07 ช้ากว่า
ข้อมูลที่ใช้สำหรับเวลาดาราศาสตร์ มาจากเวบไซต์ suncalc.org ครับ (และอีกบางส่วนมาจากเวบไซต์ สมาคมดาราศาสตร์ไทย )

หมายเหตุ ผลการคำนวณ
             ข้อมูลข้างต้น เป็นข้อมูลเฉพาะของกรุงเทพมหานคร สำหรับข้อมูลปรับแก้เพื่อให้ใช้ได้กับตำแหน่งพื้นที่ใดๆในประเทศไทยนั้น อยู่ระหว่างการทดลอง โดยล่าสุด ได้ลองใช้บางค่าที่คุ้นเคยกันดี เข้ามาร่วมแจมในพิกัดลับแห่งหนึ่ง และผลการคำนวณที่ได้ สามารถนำไปใช้งานได้ดี ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับข้อมูลทางดาราศาสตร์ของพิกัดลับแล้ว ผิดกันไม่มากในระดับหลักวินาที แต่ยังต้องคอยดูกันต่อไปในระยะยาว


หมายเหตุ
             นับตั้งแต่ ทราบเทคนิคการเช็ค Full Moon รวมถึง คาดเดา วิธีการเช็ค New Moon (อมาวสี) จากตัวคัมภีร์ ซึ่งอันที่จริงนั้น ค่าเลขตัวนั้น เขาได้บอกเอาไว้แบบโต้งๆอยู่แล้ว แต่คนในอดีตก็พากันหลงลืมไป รวมถึงผู้เขียนเองด้วย
พอได้ลองรื้อค้นและทดลองกับค่าต่างๆ ณ ปัจจุบันมาแล้ว ประกอบเข้ากับเทคนิคเดิมที่ปรับปรุงไว้และใช้งานอยู่ ทำให้ชีวิตดูง่ายขึ้นมาบ้างเล็กน้อย(
???) เพราะสามารถลงค่าแก้ ในจุดอมาวสี ได้เลย    ไม่ต้องรอหารเฉลี่ยจากจุดแรกจับและจุดคลายออกของอุปราคาอีกต่อไป
             ยอมรับว่า ตอนนี้ งานคำนวณ คงต้องใช้งานกันบนกระดานคำนวณ(SpreadSheet) ไปก่อน พวกโปรแกรมสกุล script และโปรแกรมคำนวณใดๆต่างๆ คงต้องขอยกเอาไว้ แม้ว่าจะแกะกลไกออกมาได้เกินครึ่งแล้วก็ตาม เนื่องจากต้องใช้แรงและทักษะในการค้นคว้าอีกค่อนข้างจะมาก(รื้อของเก่านี่ข้อหนึ่ง ประยุกต์ของเก่าเข้ากับของใหม่ นี่ก็อีกงานหนึ่ง ลงข้อมูล อ่าน เขียนไฟล์ นำข้อมูลเอามาประมวลผลให้ นี่ก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ละงานดูแล้วไม่ง่ายสักอัน -*-)
             ในอีกไม่ช้าไม่นานนี้  คงได้ฤกษ์ เปิดกรณีศึกษาของการคำนวณสุริยุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์กันเสียที ที่ไม่ได้มีออกมาเลย เนื่องจาก ความยุ่งยากและค่อนข้างจะสับสน ในการตีความวิธีการคำนวณของมัน เพราะในหลายๆบรรทัดมีหลุมพราง ดักเล็ก ดักน้อย ไว้หลายประโยคอยู่ ที่สำคัญ คือ ตรรกะที่ใช้ ต้องปรับแก้กันชนิดพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ อันเนื่องมาจากตรรกะคณิตศาสตร์ในปัจจุบันที่ไม่เหมือนอดีต ต้องตั้งใจพินิจพิเคราะห์ในการคำนวณ เพราะผิดทีนึง แก้กันใหม่หมดยกเซต ดูจะเปลืองแรงมากโขทีเดียว
           อีกเรื่องหนึ่งก็คือ กรณีตัวอย่างของสุริยุปราคา ตั้งใจที่จะเอาแบบพวกปีที่อยู่ใกล้ๆตัว กันก่อน เลยได้ตัวแบบมาแค่น้อยนิด ราวสองสามอัน ทั้งที่จริงแล้ว เขามีสุริยุปราคาที่เลยไปไกลกว่านั้น อีกเล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้เลือกมาด้วย
ดังนั้น ในตัวอย่างเฉพาะที่มี ผู้เขียนจะพยายามอธิบาย ทำให้เข้าใจง่ายๆ  เพื่อความเข้าใจของผู้เขียนเองและผู้ที่สนใจอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
ช่วงนี้ อดใจรอไปก่อน  แล้วพบกันในไม่ช้า สวัสดี.
  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์