นานาสิทธานตะ-เริ่มต้น กับ อหรคุณ[ตอนที่ 2]-[สุริยสิทธานตะ]

นานาสิทธานตะ-เริ่มต้น กับ อหรคุณ[ตอนที่ 2]-[สุริยสิทธานตะ]

การหาอหรคุณ ทำได้ 2 วิธี คือ
1.
หา อหรคุณ โดยมีกำหนดนับเวลาตั้งแต่การสร้างโลกมาจนถึงช่วงเวลาที่ต้องการคำนวณ
ค่าที่ได้ จะมีจำนวนมาก(12 หลัก) แต่ยังสามารถทำการคำนวณได้อยู่ ตามขั้นตอนที่ปรากฎในคัมภีร์
2.
หา อหรคุณ โดยปรับจุดกำหนดนับเวลา ให้มาเริ่มต้นที่ ช่วงเวลา ณ จุดเริ่มต้นของกลียุคศักราช มีชื่อเรียกว่า อหรคุณกลียุค (kali aharagana) วิธีนี้ มีหลักการและใช้ขั้นตอนที่แน่นอน ร่วมกับค่าคงที่ชุดหนึ่ง ตัวเลขที่ได้ มีขนาดลดลงมาคือ 6 หลัก ทำให้ง่ายและสะดวกในการคำนวณ เพื่อการค้นคว้าวิจัย สำหรับ สูตรและวิธีการต่างๆ มีให้พบเห็นกันอยู่ตามบทความงานวิจัยที่มีผู้เผยแพร่และมีให้ดาวน์โหลดฟรีเพื่อการศึกษาตามเวบไซต์ต่างๆ สำหรับการค้นหา ใช้คำค้นว่า kali ahargana ได้เลย
สรุปขั้นตอน การหาอหรคุณ แบบที่ 1 ณ กำหนดเวลานับแต่การสร้างยุคและสร้างโลก เรียบเรียงจากหนังสือ Suriya Siddhanta ของ E.Burgess

จุดเริ่มต้น                                                                                         ปีสุริยคติ
ระยะเวลาล่วงมาแล้วของ Kalpa(กัลป์/กัป) ปัจจุบัน                 1 970 784 000
หักลบระยะเวลาของการสร้างต่างๆ                                              17 064 000
รวมระยะเวลาจากสิ้นสุดการสร้างโลกไปจนถึงสิ้นสุดยุคทอง   1 953 720 000

ระยะเวลาของยุคเงิน(Silver)                                                         1 296 000
ระยะเวลาของยุคบรอนซ์(Bronze)                                                    864 000

นับเวลารวมจากสิ้นสุดการสร้างโลกไปจนถึงสิ้นสุดยุคบรอนซ์   1 955 880 000

สำหรับยุคเหล็ก ที่มีระยะเวลาอีก 4960 ปี นั้น มีการเกิดขึ้นของปีมหาศักราชรวมอยู่ด้วย
ดังนั้น ระยะเวลาในยุคนี้ จะถูกแบ่งออกเป็น
1
ระยะเวลาเริ่มต้นยุคเหล็ก ซึ่งถือว่า เป็นเวลาเริ่มต้นกลียุคศักราชด้วย จนกระทั่งถึงก่อนการตั้งมหาศักราชเป็นระยะเวลา 3179 ปี
2
ระยะเวลาจากเริ่มตั้งปีมหาศักราชต่อไปอีก 1781 ปี (มหาศักราชที่ 1781 = ปี ค.. 1859-60) เป็นยุคเหล็กที่ 4960
3 ถ้าเป็นการคำนวณภายหลังจาก ปี ค.. 1860 ไปแล้ว(ยังคงเป็นยุคเหล็กอยู่จนถึง ณ ปัจจุบัน) ให้คิดเป็นระยะเวลาของปีมหาศักราชก่อนจะถึงปีที่คำนวณหรือปีที่จะคำนวณหักออกไปหนึ่ง (ตัวเลขที่ได้จะเป็น 3179 + XXXX ของปีมหาศักราช)
(Edit: แก้ไข 10/11/2562 จากการตรวจสอบแก้ไขสูตรที่ทำมาย้อนหลัง พบว่า เราไม่นับแค่เดือนที่ 1 ส่วนเลขปีให้ใส่ตัวเลขไปตามปกติ โดยให้เอา ปี ค.ศ.-78 แล้วนำผลมาใช้ได้เลย) 
นำจำนวนปีจากสามช่วงนี้มารวมกันกับ ระยะเวลาปีที่นับจากสิ้นสุดการสร้างโลกไปจนถึงสิ้นสุดยุคบรอนซ์ จะได้จำนวนปีทั้งหมดที่ต้องการคำนวณมาค่าหนึ่ง จากนั้น จึงนำค่านี้ไปคำนวณต่อในขั้นตอนถัดไป.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์