นานาสิทธานตะ-เริ่มต้น กับ อหรคุณ[ตอนที่ 3]-[สุริยสิทธานตะ]

นานาสิทธานตะ-เริ่มต้น กับ อหรคุณ[ตอนที่ 3]-[สุริยสิทธานตะ]

เมื่อได้จำนวนปีทั้งหมดที่ต้องการคำนวณมาแล้ว ให้นำจำนวนปีที่ได้มากระจายให้เป็นเดือนสุริยคติ ด้วยการคูณกับ 12 ผลลัพธ์ที่ได้ เป็นจำนวนเดือนสุริยคติ
จากนั้น นำเดือนสุริยคติที่ได้มา ไปรวมกับจำนวนเดือนที่ล่วงมาแล้ว ก่อนหน้าเดือนที่จะคำนวณ สำหรับการนับเดือนที่ล่วงมาแล้วไม่ต้องนับเดือนที่ 1 ของปีนั้นหรือก่อนหน้า (แล้วแต่ วันเวลาที่ต้องการคำนวณว่า ห่างไกลจากเดือน มีนาคม ซึ่งกำหนดให้เป็นเดือนขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินมหาศักราช มากน้อยแค่ไหน) จะได้จำนวนเดือนสุริยคติล่วงมาแล้วทั้งหมด
ต่อจากนั้น หาเดือนอธิกมาสล่วงมาแล้ว ด้วยสูตรดังนี้
เดือนสุริยคติล่วงมาแล้วทั้งหมด x (เดือนอธิกมาสมหายุค / เดือนสุริยคติมหายุค)
ผลที่ได้ คือ จำนวนเดือนอธิกมาสล่วงมาแล้วทั้งหมด พักเอาไว้ก่อน
ต่อไป ให้หาเดือนจันทรคติ
โดยนำเอา เดือนอธิกมาสล่วงมาแล้วทั้งหมด(ที่พักไว้ก่อนหน้า) มา บวก กับ เดือนสุริยคติล่วงมาแล้วทั้งหมด
ผลที่ได้จะเป็นเดือนจันทรคติ ต่อจากนั้น นำผลที่คำนวณได้คูณด้วย 30 ก่อนจะนำไปรวมกับจำนวนวันที่ล่วงไปแล้ว จากการนับตามปฏิทินจันทรคติ ก่อนจะถึงวันที่คำนวณ ผลลัพธ์ที่ได้ คือ วันจันทรคติทั้งหมด
หมายเหตุ จุดนี้ อธิบายโดยย่อ การนับตามปฏิทินจันทรคติในที่นี้ เป็นการนับวันด้วยการกำหนดดิถีจากดวงจันทร์ คล้ายกับการนับข้างขึ้น ข้างแรมในบ้านเรา นั่นเองครับ สามารถปรับใช้เป็นการนับขึ้น – แรม แบบที่ใช้กันในบ้านเราได้ด้วย(ช่วยประมาณการได้ดีในระดับหนึ่ง) โดยจะเริ่มต้นนับที่ข้างขึ้นคือ ขึ้นหนึ่งค่ำ เป็นต้นไป
เมื่อได้วันจันทรคติทั้งหมดแล้ว ให้หา Whole omitted lunar day ออกมา ด้วยสูตรดังนี้
(Omitted lunar day mahayuga / Total lunar day mahayuga) x Whole lunar day elapsed
จากนั้น เมื่อได้ Whole Omitted lunar day มาแล้ว ให้นำไปหักออกจาก Whole lunar day elapsed (วันจันทรคติทั้งหมดที่คำนวณมาก่อนหน้านี้) จะได้อหรคุณ ตามต้องการ
เขียนเป็นสูตรง่ายๆได้ ดังนี้ คือ
ให้ Whole omitted lunar day = do , Whole lunar day elapsed = dL , อหรคุณ = ahargana
จะได้ว่า Ahargana = dL – do .

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์