บทความ

ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้ 2 ลิปดาในมัธยมอุจจ์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 2

  ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้ 2 ลิปดาในมัธยมอุจจ์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 2              หลังจากที่ได้ทดสอบสมมติฐานแรก ผ่านชุดสมการและผลการคำนวณเชิงตัวเลข ผลลัพธ์ที่ได้ออกมา เป็นเมืองสมมติเมืองหนึ่ง มีที่ตั้งอยู่กลางทะเลมหาสมุทร ก่อนที่จะใช้เทคโนโลยียุคปัจจุบัน นำพาสืบเสาะจนได้มาพบว่า  มันมีเมืองหนึ่งหรือสถานที่แห่งหนึ่งอยู่จริงๆ ที่มีค่าพิกัดเป็นไปตามการคำนวณดังกล่าว และในปัจจุบัน ก็มีนักดำน้ำนิยมไปที่นั่น ชื่อว่า pontal do macaxeira  ซึ่งพบว่า แทบไม่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อันใดเกี่ยวข้องกันเลยกับเมืองอุชเชนีแม้แต่น้อย  แต่เพราะผลการคำนวณเชิงตัวเลขบังคับไว้ให้เห็นกันอย่างชัดเจน  ทำให้ต้องคงไว้เป็นเพียงแค่เมืองสมมติที่ใช้สำหรับเทียบเคียงในทางการคำนวณหาค่าเทศานตรผล ให้มีค่าแก้ตามที่ถูกกล่าวอ้างถึงในตำราสุริยยาตร์เท่านั้น คราวนี้ มาดูที่ข้อสมมติฐานอีกข้อกันบ้าง ในข้อสันนิษฐานนี้ ได้สันนิษฐานเอาไว้ว่า ที่มาของ บวกสองลิปดา  น่าจะมาจากเมืองหรือสถานที่ที่ใช้สำหรับการวัดหรือรักษาเวลาซึ่งตั้งอยู่หลังเมืองอุชเชนีที่เป็นเมืองหลวง

ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้ 2 ลิปดาในมัธยมอุจจ์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 1

  ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้ 2 ลิปดาในมัธยมอุจจ์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 1 ในตอนก่อน เราได้พูดถึงข้อสงสัยเกี่ยวกับปริศนาค่าแก้บวก 2 ลิปดาในมัธยมอุจจ์ในสุริยยาตร์  โดยเริ่มจากการตรวจสอบขั้นตอนในการหามัธยมอุจจ์ ทั้งจากตำราเดิม สูตรในสมการสุริยยาตร์  และสูตรที่มาจากคัมภีร์ ขัณฑขาธยกะของพรหมคุปต์ที่เรียบเรียงใหม่โดย  ศาสตราจารย์ S. Balachandra Rao  โดยสรุป เราพบว่า มีการใส่ค่าแก้บวก 2 ลิปดานี้ มาตั้งแต่แรกเริ่ม ณ จ . ศ . 0 โดยอ้างอิงพิกัด ณ เมืองอุชเชนี

ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้ 2 ลิปดาในมัธยมอุจจ์นั้นมาแต่ไหน บทนำ

  ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้ 2 ลิปดาในมัธยมอุจจ์นั้นมาแต่ไหน บทนำ หลังจากที่เคยได้นำเสนอเรื่องราวของค่าแก้มัธยมอาทิตย์กับจันทร์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ที่ได้มาจากการตามหาค่าเทศานตรผล  จนจบที่ 3 กับ 41 ในแบบทศนิยม และ จบที่ 3 กับ 40 ตามลำดับและตามสูตรในตำราเดิมของ สุริยสิทธานตะ ซึ่งตรงกับค่าแก้ในสุริยยาตร์แบบเหมือนกันอย่างกับแกะ ในคราวนี้ จึงขอนำเสนอเรื่องราวปริศนาต่อเนื่องจากที่เคยได้ทิ้งท้ายไว้ว่า ค่าบวก 2 ลิปดาที่อยู่ในขั้นตอนการหามัธยมอุจจ์ นั้น ที่มา มันมาจากไหนกัน

Way To Go 2024 For SaturnOwl

Way To Go 2024 For SaturnOwl   สวัสดีปีใหม่ 2567(2024)   ใครมันจะไปนึก จากที่โดนชีวิตเล่นงานจนตัดพ้อ ท้อแท้ จนถึงขั้นบอกว่า คงได้ปิดเพจ ปิดไซต์กันอีกในไม่ช้า เมื่อราว 6 เดือนก่อน   อยู่ดีๆ จากหนี้วิชาการตกค้าง ที่มาจากคัมภีร์สุริยยาตร์แค่เรื่องเดียว กลับทำให้ได้เนื้อหาลากยาวเป็นหางว่าว และตอนนี้ ก็ยังปิดกันไม่ลง จนจะข้ามปีกันอยู่แล้วนี่!!!! ดูแล้ว มันก็น่าตกใจอยู่เหมือนกัน ก็ไม่นึกไม่ฝัน ว่า ใต้พรมของเรื่องราวในสุริยยาตร์ มีอะไรที่ไม่น่าเชื่อ ซ่อนอยู่ในนั้นตั้งหลายอย่าง ก็ได้แต่นำเสนอออกไปในมุมของนักวิชาเกินสมัครเล่น ไปเสียก็แล้วกัน ปล่อยส่วนที่เป็นทางการให้นักวิชาการใหญ่เขาไปศึกษากันต่อเอาเอง  แล้วเราจะทำอะไรกันต่อ   เรื่องราวสืบเนื่องจากค่าแก้มัธยมอาทิตย์ จันทร์ อุจจ์สุริยยาตร์   สำหรับเรื่องราวสืบเนื่อง จะมีทั้งที่เป็นเกร็ด กรณีศึกษาคำนวณ ข้อข้องใจ หรือแม้แต่จะเป็นการคำนวณชี้วัดว่า อะไรเป็นอะไรแบบนี้ก็ได้ เช่นเดียวกัน มีทำๆไว้บางส่วนแล้ว หวังว่าจะไม่ใช่เรื่องสั้นขนาดยาว เช่นการหาค่าแก้เทศานตรผล มัธยมอาทิตย์ จันทร์ และอุจจ์ โดยเฉพาะมัธยมอุจจ์ ที่ยังทำไม่เสร็จและคงได้ปล่อยกันข้ามปีอย

ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้มัธยมอาทิตย์และจันทร์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 3

  ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้มัธยมอาทิตย์และจันทร์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 3 จากตอนที่ 2 ได้ปูพื้นของแนวคิด และวิธีในการหาค่าของเทศานตรผลด้วยวิธีการตามความสัมพันธ์ และสูตรในตำราเดิมไปแล้ว           ในคราวนี้ เราจะเริ่มลงมือคำนวณเพื่อทดสอบข้อสันนิษฐานว่าสามารถทำได้ตามนั้นจริงหรือไม่           อันดับแรก จะเริ่มต้นจากข้อมูลดังต่อไปนี้ คือ พิกัดละติจูดพุกาม ที่ตั้งเมืองพุกามในประเทศพม่า พิกัด : 21°10′20″N 94°51′00″E เราจะใช้ค่านี้ ตั้งต้นคำนวณหาเทศานตรผลกัน

ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้มัธยมอาทิตย์และจันทร์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 2

  ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้มัธยมอาทิตย์และจันทร์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 2 จากตอนที่ 1 หลังจากที่เราได้วินิจฉัยเชิงตัวเลขกันไปแล้วถึงค่าแก้มัธยมอาทิตย์และจันทร์  โดยได้ผลลัพธ์ออกมาอยู่ที่ 3 กับ 41 ตามลำดับ สำหรับพิกัด ณ เมืองพุกาม  ซึ่งทั้งหมดที่ทำการคำนวณมา เราใช้การคำนวณผ่านวิธีการสมัยใหม่ทั้งหมด แต่เมื่อย้อนกลับมุมมอง โดยคิดว่า หากเป็นในสมัยอดีตราวพันกว่าปีก่อนล่ะ  พวกเขาจะคำนวณค่าพวกนี้กันได้อย่างไร เมื่อไม่มีสิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมา ในตอนนี้ เราจะมาหาคำตอบของเรื่องนี้กัน

ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้มัธยมอาทิตย์และจันทร์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 1

  ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้มัธยมอาทิตย์และจันทร์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 1 เกริ่นนำ      จากส่วนท้ายของบทนำ ได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า เราจะเริ่มต้นกันจากเรื่องของเทศานตรผล เพื่อตามหากันว่า ตำรานี้ ใช้ที่แห่งใด เป็นจุดคำนวณ เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าปรับแก้ไขกันแน่ ในที่นี้ จะขอใช้สูตรตามคัมภีร์สุริยสิทธานตะในการตามหาค่าเทศานตรผลกัน